•การใช้ “เสียง” เพื่อการสื่อสาร

Last updated: 30 ก.ค. 2564  |  532 จำนวนผู้เข้าชม  | 

•การใช้ “เสียง” เพื่อการสื่อสาร

•การใช้ “เสียง” เพื่อการสื่อสาร•


เสียง เป็นการสื่อสารที่สำคัญ 

ยิ่งในยุคที่เราต้องสื่อสารผ่าน online (ไม่ว่าจะแบบเห็นหน้า หรือ ไม่เห็นหน้า) ยิ่งต้องใส่ใจในเรื่องการใช้เสียงให้มาก

เพราะ เสียงสามารถสะท้อนทั้งอารมณ์และความรู้สึก

ที่สำคัญคือยังสามารถสร้างความสำเร็จได้อีกด้วย

การใช้น้ำเสียงให้เป็น จะช่วยเสริมสร้างบุคลิกการสื่อสารให้มีพลัง ชวนฟัง สร้างความประทับใจ น่าจดจำ 

จะช่วยดึงดูดความสนใจและความน่าเชื่อถือจากผู้ฟังได้ เรียกว่าเป็นอีกเรื่องที่สำคัญต่อการมีภาพลักษณ์ที่ดี

.

ครูกิ๊ฟขอแนะนำ 5 เทคนิคง่ายๆ ที่จะทำให้เสียงของเราเป็นสื่อในการสร้างความประทับใจ น่าเชื่อถือ มีพลังและน่าจดจำ มาให้ทุกคนลองฝึกการใช้เสียงกันค่ะ


1.การหมั่นฝึกออกเสียง  
พูดให้ชัดถ้อยชัดคำ โดยการฝึกอ่านออกเสียงประโยคต่างๆ รวมถึงฝึกพูดคำควบกล้ำให้ชัดเจน 

นอกจากจะทำให้การพูดของเราน่าฟังมากขึ้นแล้ว

ถ้าเราออกเสียงผิด ความหมายอาจผิด ส่งผลทำให้การสื่อสารผิดพลาดได้



2.รู้จังหวะในการพูด ไม่ช้า หรือ เร็วจนเกินไป

รวมถึงจังหวะการหยุด เว้นวรรคตอน และประโยคให้ถูกต้อง ถูกความหมายที่ต้องการจะสื่อสาร

ซึ่งการหยุด ควรหยุดก่อนที่จะพูดถึง

-บริบทที่อยากให้คนจดจำ เช่น คำพูดที่อยากสร้างอารมณ์ร่วม

-ประเด็นสำคัญ เช่น ตัวเลข



3.รู้จักใช้โทนเสียง สูง กลาง ต่ำ

เพื่อให้เรื่องราวที่พูดมีมิติ และน่าติดตามตั้งแต่ต้นจนจบ เลือกการใช้โทนเสียงให้เหมาะสมกับเรื่องราวและสอดคล้องกับความหมายของคำที่ต้องการสื่อ จะช่วยเพิ่มอรรถรสในการฟังได้มากกว่าการพูดแบบโมโนโทน


เสียงสูง (Head Tone) : ใช้เพื่อดึงดูดความสนใจ ทักทาย ตั้งคำถาม 

แต่ข้อควรระวังคือ อย่าใช้เสียงสูงพูดตลอดเวลา เพราะจะทำให้เกิดความน่ารำคาญได้


เสียงกลาง (Mouth Tone) : คือเสียงที่เราใช้พูดคุยตามปกติ ใช้เพื่อ บรรยาย เล่าเรื่อง พูดถึงเนื้อหาทั่วๆไป


เสียงต่ำ (Chest Tone) : เป็นเสียงที่มีพลัง ใช้เน้นย้ำเรื่องสำคัญ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังจดจำ หรือสร้างอารมณ์ร่วม



4.สำหรับคนที่เสียงใหญ่ เมื่อจบประโยค ควรทอดหางเสียงเล็กน้อย จะดูเป็นมิตรยิ่งขึ้น 

ส่วนคนที่เสียงเล็ก พยายามออกเสียงให้ฉะฉาน หลีกเลี่ยงการพูดอ้อมแอ้มที่ทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือ



5.ลดใช้คำฟุ่มเฟือย (Non-Words)

เช่น เอ่อ, อ่า, เอิ่ม, แบบ, แบบว่า, ไม่, อะไรประมาณนี้, นะคะ…นะ ครับผม…ครับ,

เรามักใช้คำฟุ่มเฟือยเหล่านี้มาแทรกในเวลาที่เรากำลังคิดถึงเรื่องที่จะพูดต่อ  ซึ่งคำเหล่านี้ไม่มีความหมายต่อการสื่อสารเลย

แก้ไข โดยการพูดให้ช้าลง หรือหยุดพูดเพื่อคิดสิ่งที่จะพูดต่อไปโดยไม่ต้องกลัว Dead air 

เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดการใช้คำฟุ่มเฟือย คือการฝึกฝน และเตรียมตัวมาอย่างดีในเรื่องที่เราต้องพูด และต้องการสื่อสารค่ะ

.

#ลองฝึกดูนะคะ

.

สนใจปรับภาพลักษณ์และบุคลิกภาพแบบองค์รวม

ติดต่อเพื่อขอคำปรึกษากับครูกิ๊ฟได้ที่

http://goo.gl/mGHrrC

Line: @thereflectionist

Tel: 0815655549


▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️
ครูกิ๊ฟ คริมา จิวะชาติ

-นายกสมาคมที่ปรึกษาภาพลักษณ์นานาชาติแห่งประเทศไทย (AICI Thailand)

-"Personal Styling Coach Diploma" จาก London College of Style ประเทศอังกฤษ

สถาบันที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในLondon

-Advance Men Styling จาก First Image Training ประเทศมาเลเซีย

-"Image Training" จาก The New You สถาบันที่ได้รับการรับรองจาก AICI (Association of Image Consultants International) ประเทศไทย และ มาเลเซีย

-Business Manner and Etiquette จากการรับรองของสถาบัน IITTI (International Image & Etiquette Standards) ประเทศแคนนาดา

-Neuro-Linguistic Programing Coach certified จาก Living Wise Coaching ที่ได้รับการรับรองจาก American Board of NLP, USA.

-Time Line Therapy™️ certified จาก Living Wise Coaching ที่ได้รับการรับรองจาก Time Line Therapy Association, USA.

-Body Language Trainer : Rene Deceuninck

-"Fashion Design" Diploma จาก CIDI Chanapatana International Design Institute

-อดีตพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินไทย อายุงาน 15 ปี

-นักธุรกิจที่ทำงานตามความฝัน บนพื้นฐานของคำว่า "ความสุข"

Powered by MakeWebEasy.com